ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน2)

ครั้งที่แล้ว ผมได้เล่าเรื่องที่ ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ได้แปลแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ไว้ย่อ ๆ และจบลงด้วยวิสัยทัศน์ของไอซีทีที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อให้เกิดการรวมตัวทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียนนั้น

Vision ASEAN ICT Masterplan

ทั้งนี้ แผนภาพข้างต้นที่แสดงถึงวิสัยทัศน์นั้น อาจเป็นกรอบกว้าง ๆ ซึ่งในแต่ละประเทศสามารถประยุกต์ใช้ได้ในประเทศของตน ให้สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 และแน่นอนว่าควรจะสัมพันธ์กับแผนไอซีทีของธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ด้วยนะครับ

วิสัยทัศน์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ดังกล่าวมุ่งบรรลุผลดังต่อไปนี้

1. การเสริมสร้างพลัง

จัดให้ผู้มีส่วนได้เสีย มีทักษะ มีเทคโนโลยี สามารถเชื่อมต่อ และมีข้อมูลข่าวสาร ที่จะช่วยให้ใช้ไอซีทีได้อย่างเต็มที่

2. ทำให้เกิดการปฎิรูป

อาศัยไอซีทีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเรา ทั้งในด้านความเป็นอยู่ การเรียนรู้ การทำงาน จนถึงด้านนันทนาการ

3. ทำได้อย่างทั่วถึง
เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งหมดในอาเซียน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาคม และภาคธุรกิจ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และที่กำลังพัฒนา ทั้งที่อยู่ในเมือง และในชนบท ทั้งเยาวชน และผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสและที่ด้อยโอกาส

4. สร้างความคึกคัก
สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เอื้อต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และกระตุ่นให้ไอซีทีเบ่งบานและประสบความสำเร็จ

5. เกิดการรวมตัวกัน

ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันในอาเซียน ระหว่างประชาชน รัฐบาล และธุรกิจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
วิสัยทัศน์นี้คาดว่าจะทำให้เกิดผลลัพธ์ 4 ประการ ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิธีที่อาเซียนจะใช้พัฒนาและปฎิรูปเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

1. ไอซีทีเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตสำหรับอาเซียน
ไอซีทีจะเป็นหนึ่งในกลุ่มเศรษฐกิจหลักของอาเซียน อีกทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดศักยภาพการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย

2. ยอมรับว่าอาเซียนเป็นศูนย์กลางไอซีทีระดับโลก

อาเซียนจะสร้างความโดดเด่นให้ตัวเอง ด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่มีคุณภาพสูง มีกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง และมีความสามารถทางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี

3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในอาเซียน

การใช้ไอซีทีอย่างแพร่หลายจะช่วยให้ประชาชนของอาเซียนมีส่วนร่วม เข้าไปเกี่ยวข้อง และมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดนี้ จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ การประกอบการงาน และด้านนันทนาการ

4. มีผลต่อการรวมตัวในอาเซียน

ไอซีทีจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันมากมาย ระหว่างกลุ่มธุรกิจ และประชาชน จนนำไปสู่การรวมตัวของอาเซียน

The Process of investing ICT to create opportunities

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ตามที่กล่าวนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ประเทศในอาเซียนจะต้องช่วยกันจัดให้มีแผนงานที่ชัดเจน ทั้งในระดับอาเซียน และระดับประเทศ และระดับธุรกิจ ที่ควรจะสอดคล้องกับการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมี 3 เสาหลักรองรับ ได้แก่

1. Economic Transformation
2. People Empowerment & Enggagement
3. Innovation

ซึ่งเรื่องนี้ในแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งผมจะนำมาเล่าต่อ โดยนำเรื่องที่ ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ได้แปลไว้มาขยายความบางช่วงในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ

ใส่ความเห็น